VOJTA THERAPY / กดจุดวอยต้า

Vojta Therapy (วอยต้า) แนวทางกายภาพบำบัดที่แตกต่าง

การบำบัดรักษาทางด้านการเคลื่อนไหว และการทรงตัว เป็นวิธีการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งปกติแล้วจะต้องใช้เวลานานในการบำบัดรักษา โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางสมองเข้ามาร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วย โรคสมองพิการหรือ Cerebral Palsy (CP) เป็นโรคที่เกิดกับเด็กได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งเด็กที่เป็นโรคนี้พัฒนาการจะช้ากว่าปกติและพัฒนาการด้านอื่นจะบกพร่องอีกด้วย เด็กที่เป็นโรคนี้ส่วนมากจะเป็นตั้งแต่แรกเกิดจนประมาณ 7 ขวบ เด็กที่เป็นโรคนี้ส่วนมากจะมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว เช่น  กล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวช้าทรงตัวได้ไม่ดีต้องใช้ไม้ค้ำยันบางคนเดินไม่ได้  อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cerebral Palsy หรือ โรคสมองพิการที่นี่...

สรุปอย่างสั้น วอยต้า คืออะไร 

หลักการแบบวอยต้าได้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปี 1950 และ 1970 โดยแพทย์ทางประสาทวิทยา และกุมารแพทย์ Dr. Vaclav Vojta ในปัจจุบัน วอยต้าเป็นวิธีทางกายภาพบำบัดที่ได้ถูกนำมาใช้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการเคลื่อนไหว ในหลากหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป ในการบำบัดแบบวอยต้านั้น จะไม่เน้นการจัดลำดับการเคลื่อนไหว (เช่น การเอื้อมหยิบ, การลุก, การนั่ง และการยืน) เหมือนการบำบัดทั่วไป แต่การบำบัดแบบวอยต้าจะเป็นการกระตุ้นสมอง โดยการกระตุ้นสมองส่วนลึกที่เป็นจุดเก็บความจำของแบบแผนการเคลื่อนไหว ซึ่งสมองจะส่งสัญญาณให้การเกิดการประสานการเคลื่อนไหวกับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่กล้ามเนื้อส่วนในจนถึงกล้ามเนื้อส่วนปลาย การบำบัดแบบวอยต้ามีความเชื่อว่าหากกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง จะเปรียบเสมือนเป็นการขยับให้ “สวิตช์แน่นขึ้น” ทำให้การเชื่อมต่อของสัญญาณเส้นประสาทมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการทำวอยตาจะส่งสัญญาณไปยังสมอง และกระดูกไขสันหลัง เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ กลับมาทำงานได้ดีมากขึ้น
 
เด็กที่มีความพิการทางร่างกาย หรือ พัฒนาการล่าช้า ความสามารถในการเคลื่อนไหวนั้นเสียมาตั้งแต่แรกเกิดแล้ว แต่ส่วนใหญ่จะไม้สามารถรู้จนกว่าเด็กจะแสดงให้เห็นว่าพัฒนาการไม่ปกติ ซึ่งใช้เวลาเกินครึ่งปี VOJTA หรือวิธีการวอยต้า สามารถตรวจพบความผิดปกตินี้ได้ตั้งแต่แรกเกิด และหากสามารถรักษาด้วยวอยต้าตั้งแต่เป็นทารก โอกาสที่จะกระตุ้นพัฒนาการให้กลับมาใกล้เคียงปกติที่สุดนั้นมีสูงถึง 90% เลยทีเดียว
 
มูลนิธิ ซายมูฟเม้นท์ กับการผลักดันวอยต้าในประเทศไทย
  • เราต้องการ สนับสนุนการกระจายตัวของผู้ใช้ศาสตร์วอยต้าในการรักษาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว
  • เราต้องการ เสนอทางเลือกในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว /เด็กสมองพิการ ให้กับผู้ปกครอง โดยเป็นศาสตร์ที่ใช้ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างผู้ปกครอง และเด็กเอง
  • เราต้องการ สร้างกำลังใจให้พ่อแม่ที่กำลังประสบความยากลำบากในการเริ่มใช้วอยต้า ให้สามารถใช้ประโยชน์จากวอยต้าได้สูงสุด

    มูลนิธิซาย มูฟเม้นท์ ผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการนำเข้าศาสตร์วอยต้าเข้ามาที่ประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน มาตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบันมีสถานพยาบาลทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ให้บริการการรักษาบำบัดด้วยศาสตร์วอยต้ากว่า 30 สถาบัน (คลิกเพื่อดูรายชื่อสถานพยาบาล...) ซึ่งดำเนินการบำบัดผู้ป่วยเด็กโดยนักกายภาพที่สำเร็จหลักสูตร Vojta Therapy for Children ซึ่งจัดการอบรมโดยสถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) และบำบัดผู้ป่วยผู้ใหญ่โดยนักกายภาพที่สำเร็จหลักสูตร Vojta Therapy for Adolescents and Adults ซึ่งจัดการอบรมโดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ


การจัดอบรม Vojta Therapy สำหรับบำบัดเด็ก แบ่งการเรียนการสอนเป็น 4 courses คือ

  1. Course A - ช่วงเวลาการฝึกอบรม เดือน สิงหาคม ในปีที่รับเข้าอบรมของรุ่นนั้น
  2. Course B - ช่วงเวลาการฝึกอบรม เดือน กุมภาพันธ์ ปีต่อจากปีที่รับเข้าอบรมของรุ่นนั้น
  3. Course C - ช่วงเวลาการฝึกอบรม เดือน สิงหาคมของปีต่อจากปีที่รับเข้าอบรมของรุ่นนั้น
  4. Course D - ช่วงเวลาการฝึกอบรม เดือน กุมภาพันธ์ สองปีต่อจากปีที่รับเข้าอบรมของรุ่นนั้น

การจัดอบรม Vojta Therapy สำหรับบำบัดผู้ใหญ่ (Vojta Therapy for adolescents and adults) อบรมเพียง 3 course คือ course A-C ในช่วงเวลาเดียวกับ Course สำหรับบำบัดเด็กแต่จะเป็นทีมผู้ฝึกสอนคนละชุด

ปัจจุบันทีมผู้สอน Vojta Therapy  ประกอบด้วยนักกายภาพบำบัด และแพทย์ ซึ่งบางท่านได้รับการสอนจากนายแพทย์วอยต้าโดยตรง มีองค์กรวอยต้านานาชาติ (International VOJTA Gesellshafte.V.-IVG) เป็นตัวแทน IVG ได้ผลิตนักกายภาพบำบัดทางวอยตา และแพทย์ทางวอยตาไปทั่วโลกมามากกว่า 40 ปี ทั้งนี้การบำบัดด้วยเทคนิควอยต้าในประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการรักษาเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และพัฒนาการหลายหมื่นคน

ด้วยความมุ่งมั่นในการจัดการฝึกอบรม VOJTA Therapy ของสถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) และ การสนับสนุนจากทุกภาคส่วน พร้อมการผลักดันจากมูลนิธิ ซายมูฟเม้นท์ ทำให้มีการฝึกอบรมบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อใช้ศาสตร์วอยต้าในการบำบัด และวินิจฉัย ความพิการทางการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ป่วยเด็ก สำเร็จไปแล้วถึง 4 รุ่น สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่อีก 2 รุ่น และอยู่ระหว่างการอบรม ดังนี้
 
การจัดอบรม Vojta Therapy จากเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 10 เมษายน 2563)
  • รุ่น 1 เริ่มอบรม สิงหาคม 2554 - รุ่น 1 จบ กุมภาพันธ์ 2556
  • รุ่น 2 เริ่มอบรม สิงหาคม 2556 - รุ่น 2 จบ กุมภาพันธ์ 2558
  • รุ่น 3 เริ่มอบรม สิงหาคม 2558 - รุ่น 3 จบ กุมภาพันธ์ 2560
  • รุ่น 4 เริ่มอบรม สิงหาคม 2560 - รุ่น 4 จบ กุมภาพันธ์ 2562
  • รุ่น 5 เริ่มอบรม สิงหาคม 2562 - รุ่น 5 จบ สิงหาคม 2566 (ขยายเวลาสถานการณ์โควิด)
  • รุ่น 6 เริ่มอบรม มกราคม 2567 - อยู่ระหว่างการอบรม

 

สัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ใช้วอยต้าในการฟื้นฟูพัฒนาการให้ลูก

น้องคิน ^

---------------------------------------------------------------------------  

น้องก้อง อายุ  5 ขวบ  (สัมภาษณ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2560)

Q: น้องก้องเจอวอยต้าได้นานเท่าไหร่แล้วคะ ?

" รู้จักกับวอยต้าเมื่อประมาณน้องก้องอายุ  1 ขวบ 3-4 เดือน "

Q: ก่อนเจอวอยต้าได้ทำอะไรมาก่อนไหม ?

" ก็หัดนั่ง หัดพลิกคว่ำ นอนหงายนอนตะแคง ประมาณครึ่งปีผ่านไป เด็กขณะทำก็หลับ และนักยาภาพบำบัดบอกว่า ถ้าเด็กหลับขณะทำนั้นรับการรับรู้ก็จะไม่มี หลังจากนั้นก็ปรึกษากันกับครูอั๋นและส่งเด็กไปให้ครูจ๋า ซึ่งจบนักกายภาพรุ่นเดียวกัน พอกดปุ๊บ ลูกก็ดีขึ้น ไม่หลับเลย แต่ก็ร้องไห้ แต่พอเป็นวอยต้า เราก็จะเห็นถึงความแตกต่าง "

Q: เริ่มฝึกนานเท่าไหร่ถึงเห็นถึงความแตกต่าง

" ฝึก 1 อาทิตย์ จะเห็นอันดับแรก ปอดแข็งแรงขึ้น เสมหะดูดน้อยลง แล้วก็ตรงช่องท้องเขา และพอ กดลงไปเรื่อยๆ ท้องของน้องจะเป็นกล้ามเนื้อ น้องเจาะคอเพื่อการหายใจ น้องเจาะหน้าท้องเพื่อทานข้าว เจาะตั้งแต่เกิด ไม่มีปัญหากับการทำวอยต้า สามารกดได้ "

Q: ข้อดีของการทำวอยต้า

" การกดวอยต้าเป็นศาสตร์เหมาะสมกับน้อง ทำให้หลังแข็ง คอแข็ง กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น "

Q: พัฒนาการของน้องเป็นอย่างไรบ้าง?

" สามารถพลิกคว่ำหงายได้แล้ว การรับรู้ตอบสนองได้ดีขึ้น เรียกชื่อก็จะหัน และจะมีการเปล่งเสียงออกมา แต่เนื่องจากน้องเจาะคอเลยทำให้เสียงไม่ดังมากนัก แต่ในปัจจุบันนี้เสียงดังขึ้นมากแล้ว ตะเปงเสียงออกมาได้มากขึ้น ใน  1 วันกดให้น้องไม่ถึง 4 ครั้ง กดได้ประมาณวันละ 2-3 ครั้ง "

Q: อยากจะฝากอะไรถึงพ่อแม่ที่เพิ่งเริ่มทำวอยต้า

" เป็นศาสตร์ที่อยากให้พ่อแม่ทุกคนลอง เป็นศาสตร์ที่ดี ช่วยเด็กเยอะ โดยไม่ต้องให้เด็กจับนั่งจับยืน เพราะเด็กไม่ชอบ จะร้องไห้ แค่ใช้วอยต้าจะกดเขาเขาก็จะเด้งขึ้นมาเอง ชูแขนชูขาชูคอ กล้ามเนื้อแขนจะแข็งแรงขึ้น เขาก็ยังร้องอยู่ตั้งแต่การกดครั้งแรกจนถึงวันนี้ แม่ก็ยังกดต่อไป วอยต้าเป็นสิ่งที่ดีกับเขา เป็นสิ่งที่ไม่ได้บังคับเขา ไม่ต้องบังคับให้นั่งหรือยืน และจะใช้วอยต้าในการบำบัดน้องต่อไป กดแล้วดีขึ้นเยอะเลย กดมาตลอด คอแข็งหลังแข็งตั้งแต่สองขวบ จนกระทั่งอายุ 4 ขวบก็จะเริ่มพลิกคว่ำตะแคงได้ เห็นพัฒนาการชัดเจน ก็ดีใจที่อย่างน้อยเขาก็ดีขึ้น และก็อยากจะทำให้เขาอีกเรื่อย ๆ "

--------------------------------------------------------------------------- 

น้องทิกเกอร์ อายุ 8 ขวบ (สัมภาษณ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2560)

Q: ก่อนจะเริ่มการบำบัดวอยต้า  น้องทิกเกอร์มีอาการอย่างไร

" ประมาณ 3 4 ปีที่แล้วน้องทิกเกอร์ต้องใช้วอคเกอร์ในการเดิน  "

Q: เริ่มรู้จักวอยต้าได้อย่างไร

" นักกายภาพแนะนำว่ามีการอบนักกายภาพโดยใช้ศาสตร์วอยต้า ว่าช่วยพัฒนากล้ามเนื้อเด็กให้แข็งแรงขึ้น "

Q: อะไรที่ทำให้คุณแม่คิดจะลองทำวอยต้า

" ตอนแรกก็คิดว่าไม่มีอะไรจะเสีย อะไรก็ได้ที่ทำแล้วดีขึ้นเพียงเล็กน้อยก็คุ้มค่าแล้ว "

Q: และเมื่อได้ลองวอยต้าแล้วเจออุปสรรคอะไรบ้าง

" น้องทิกเกอร์บอกว่าเจ็บอย่างเดียว อึดอัด เวลากดก็เจ็บเจ็บ อยู่ในท่าที่ไม่สบายกับเขา ทำแล้วก็ร้องไห้กันไป อย่างแรกเลยสำหรับตัวเด็ก พอเด็กร้องแม่ก็เครียด ทำไปบางทีกดไม่ถูกท่าบ้าง หรือว่าจุดมันมีการเปลี่ยนที่บ้าง กดแล้วไม่ขึ้น แม่ก็เครียดหนัก บางทีทำไปทำไปก็ได้แค่เช้ากับเย็น และไม่ค่อยเห็นผลเท่าไหร่ แต่พอเวลาที่เขาปิดเทอมเดือนสองเดือนทำได้เต็มวันก็มีเวลาทำวันละ 3-4 ครั้ง ยืนตัวตรงขึ้น เข่าแอ่นน้อยลง แล้วก็พอเปิดเทอม เราก็คุยกับครูว่าจะไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ครูถามว่าไหวไหม ก็บอกว่าไหว ตั้งแต่นั้นมาเราก็ไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินมาเรื่อยๆ เดินแล้วก็ล้มบ่อยก็ค่อยๆดีขึ้นเป็นลำดับ เวลาเขาร้องเราก็ไปคุยกับเขาว่าเราก็ไม่อยากให้ลูกเจ็บ แต่แม่อยากทำให้ลูกดีขึ้น "

Q: แล้วน้องทิกเกอร์มีความรู้สึกว่าแต่ทำวอยต้ามีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

" สบายขึ้น ยกขาได้ง่ายขึ้นหน่อยนึง เวลาวิ่งยังไม่ดีขึ้น เวลายืนจะง่ายขึ้น มีวันไหนไหมที่เราทำวอยต้าน้อยแล้วรู้สึกถึงความแตกต่างนิดหน่อย วันที่ไปรรวันนึงเขาบอกว่าไม่ไหวแล้ว เจ็บไม่อยากทำแล้ว เด็กก็มีอยู่แล้วเป็นธรรมดา เราก็ไม่ทำ งั้นก็ไปโรงเรียนได้เลย กลับมาเราก็ถามว่าพนจะทำวอยต้าอีกไหม เขาก็บอกว่าทำ มันอาจจะเป็นความรู้สึกที่ดีขึ้นในการทำวอยต้า มันอาจจะเป็นแบบเขาเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น หลังจากนั้นก็งอแงแต่ก็ยอมทำ "

Q: อะไรที่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมวอยต้านี่แหละใช่สำหรับเรา

" เขามีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงของเขาจะเห็นได้ชัดเจนจากการใช้อุปกรณ์แล้วดีขึ้น ไม่ล้ม เขาจะเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยแต่ก็ดีที่ยังได้เปลี่ยนแปลง คือถ้าเราไม่ทำเลยมันก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือดีขึ้นเลย แต่ถ้าเรามุ่งมั่นและเชื่อว่าจะมีสิ่งดีๆเกิดขึ้น เราก็ยังมีกำลังใจที่จะทำต่อไป "

Q: อยากฝากอะไรกับพ่อแม่คนอื่น ๆ ว่าเรามีแนวคิดอย่างไร

" อย่างแรกเลยอยากให้ทุกคนมีความหวัง หวังว่าลูกเราจะต้องเดินได้ หวังว่าลูกต้องทำได้ เป็นความเชื่อย่างนึง และถ้าเรามีความเชื่อความหวังอยู่ในใจแล้ว มันก็จะเกิดแรงกระตุ้นเกิดกำลังใจที่จะทำในการที่จะทำให้เกิดไปตามที่เราคาดหวังที่เราหวัง และพอเราทำก็เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะผ่านจุดแรกไปไม่ได้ เพราะว่าสองอาทิตย์แรกไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย ลูกก็ร้อง คนที่เห็นก็บอกว่าหยุดเถอะ ร้องขนาดนี้แล้วจะทำอีกเหรอ เราก็คิดว่าเรายังไม่ได้ลองให้มันเห็น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันไม่ดี แล้วพอลองแล้วมันดีขึ้น แล้วเราจะไม่ทำต่อเหรอ เรายังไม่รู้เลยว่าดีขึ้นมันจะมีลิมิตตรงไหน สุดท้ายแล้ววอยต้าจะช่วยให้ลูกเราดีได้ถึงแค่ไหน เลยคืออยากให้ทุกคนอดทน อย่างแรกเลยคือทุกคนต้องอดทน แล้วก็ลองดูว่าทุกอย่างจะดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน "

--------------------------------------------------------------------------- 

น้องเก่ง น้องเก่งอายุ 13 ปี (สัมภาษณ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2560)

Q: น้องเก่งเจอวอยต้าได้นานเท่าไหร่แล้ว ?

" รู้จักกับวอยต้ามา 3 เดือน ก่อนหน้านั้นแม่จะเน้นฟื้นฟูทางด้านร่างกายน้อง ทั้งกายภาพ นวดไทย และของญี่ปุ่น เพราะว่าคุณแม่ได้ผ่านการอบรมทางด้านนี้มาหมดแล้ว ก็ทำมาตลอดไม่เคยหยุดเลย ฝังเข็มมา 3 ปี "

Q: คุณแม่ตัดสินใจยังไงตอนที่จะเริ่มทำวอยต้า

" ตอนนั่งน้องเก่งหลังโก่ง ช่วงสันหลังจะนูน ก็เลยโทรมาหาครูอั๋นว่าเอาน้องเก่งมาบำบัดวอยต้าได้ไหม เพราะว่าเห็นว่าวอยต้าสามารถบำบัดเรื่องของกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ จะเน้นเรื่องสื่อถึงสมอง กดแล้วจะสื่อถึงสมอง กล้ามเนื้อสามารถตอบสนองเองได้  เลยพาน้องเก่งมาให้ครูอั๋นดูว่าจะสามารถใช้วอยต้าได้ไหม ปรากฏว่าขณะกดก็กดได้ คุณแม่เลยลงชื่อไว้ และได้กดจริงๆ คือ 6 เดือนผ่านไป และก่อนหน้านั้นครูอั๋นได้สอนวิธีการกดที่ง่ายๆ นั่นคือหน้าอกกับหลังก่อน คุณแม่เลยคุยกับครูอั๋นตลอดผ่านทางโทรศัพท์  ช่วงแรกพัฒนาการเสียงหรือว่าการเล่นของน้อง เสียงก็ไม่ค่อยตอบโต้กับเราเท่าไหร่แต่ก็พอมีบ้าง แต่พอหลังคุณแม่กดอย่างเอาจริงเอาจังเราก็พยายามให้ได้สามถึงสี่ครั้งต่อวัน ปรากฏว่าเสียงเขาดังขึ้นและตอบโต้กับเรา แต่ก็ตอบเป็นภาษาของเขา เรียกหาเราเวลาอยู่คนเดียว เล่นกับยาย มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เลยมาเล่าให้ครูอั๋นฟังว่าน้องเล่นน้องขำ ครูอั๋นเลยบอกว่าเป็นผลของวอยต้าเพราะว่าเรียนมา  จากทีตอนแรกไม่เคยมี ปฏิกิริยาเลย พอหลังจากได้คิวจากครูอั๋นสามเดือน สิงหาถึงกันยา จากหลังของน้องโก่งกลายเป็นหลังสวยขึ้น แบนราบไม่โก่งแล้ว เลนเสียงเล่นคำมากขึ้น ล่าสุดร้องเพลงฮัมเพลงให้ฟังตามจังหวะ แต่ก็เป็นจังหวะเคาะของน้อง ดูโดยรวมแล้วคือหลังจากทำวอยต้าแล้วน้องจะมีความสุขขึ้น ทำให้เรายิ้มได้ แต่ราก็ไม่ได้ทิ้งวิชาอื่นที่เราเรียน ล่าสุดคือคุณแม่ได้ดูเด็กแถวบ้าน เป็นเด็กเกร็ง แล้วก็กดให้ด้วย หลังจากนั้นลูกเขาหายใจดีขึ้น หลับดีขึ้น คุณแม่เอารูปให้ครูอั๋นดู พอดีว่าคุณแม่ดูเด็กแถวบ้านอยู่เจ็ดคนเลย พิการทางสมอง เป็นจิตอาสาเลยเอาท่าไปสอนเลยพบว่าหลับดีขึ้นหายใจดีขึ้น มีความหวังขึ้นมาแล้ว มีเวลาเกิดขึ้นกับน้องเก่งก็เลยมาเล่นให้ครูอั๋นฟัง หลังจากนั้นก็เน้นเลยสี่เวลากับยายช่วยกัน สามเดือนของวอยต้าสร้างความมั่นใจให้กับคุณแม่ น้องนั่งได้และมีรูปก่อนหลังด้วย "

Q: อยากฝากอะไรกับคุณพ่อคุณแม่ที่ทำวอยต้าหรือว่าคนที่ยังไม่รู้จักวอยต้า

" เท่าที่คุณแม่ดูมาวอยต้าช่วยเรื่องเด็กเกร็งหรืออ่อนแรงและกระตุ้นให้เด็กคืบคลานหรือเดินเอง เด็กรู้เรื่องมากขึ้น มันมีความสุข ทำให้เรามีความสุข หลายๆอย่างที่เกิดขึ้นกับลูกเมื่อก่อนมันไม่เคยแต่ก็เกิดขึ้น อยากจะบอกกับคุณพ่อคุณแม่ว่าถึงช่วงแรกๆมันจะดูไม่ออกมองไม่เห็น แต่พอเราทำไปเรื่อยลูกเรามีอะไรขึ้นมา มีเล่นกับเรา มีเสียง มีปฏิเสธเรา ตอนนี้แม่ก็เลยเน้นวอยต้า 80%ให้ลูก แล้วทำมาทำให้เขามีความสุข แล้วเราก็แฮปปี้ แค่เราได้ยินเสียงฮัมเพลงร้องเพลงเราก็มีความสุขแล้ว  เพราะว่าเป้าหมายของเราไม่ได้หวังให้ลูกเดินได้ ลดการเข้าโรงพยาบาล ตอนนี้คุณแม่ก็ทำวอยต้าวันละสี่ครั้ง "

---------------------------------------------------------------------------  

น้องบุญเหลือ (สัมภาษณ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2560)

Q: น้องบุญเหลือได้รู้จักและทำวอยต้ามานานเท่าไหร่แล้ว

" ตั้งแต่ พ.ศ. 2556  ตั้งแต่รู้จักแม่ก็เริ่มฝึก แต่ก่อนตัวของน้องอ่อนมาก เป็นผัก นิ่มมากเพราะมีแต่นอน แต่พอแม่เริ่มรู้จัก แม่ได้ไปฝึกมาตั้งแต่ปี 56 น้องก็ได้เปลี่ยนแปลง น้องเริ่มร้องไห้ เริ่มหัน ขยับตัวได้นิดหน่อย ช่วงขาก็มีกระดูกบ้าง กระดุกกระดิก "

Q: ตั้งแต่รู้จักวอยต้าเมื่อปี 56 คุณแม่ทำให้น้องบ่อยขนาดไหน

" แม่ก็ได้ทำวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น เพราะน้องหลับเยอะ "

Q: แล้วตอนนั้นเห็นความเปลี่ยนแปลงขนาดไหน

" ตอนนั้นน้องเริ่มมีเสียง เริ่มมีตากระพริบ "

Q: ตอนนี้คุณแม่ทำวอยต้าให้น้องถี่ขนาดไหน

" ตั้งแต่วันละสามเวลาแม่ก็เริ่มทำถี่ขึ้นเป็นวันละ 4 รอบ แต่ถ้าไม่ได้จริงๆ ก็วันละ 3 รอบ "

Q: แล้วเราเห็นความเปลี่ยนแปลงจากการที่เราเปลี่ยนมากดวอยต้าเป็นวันละ 3-4 รอบไหม

" เห็นค่ะก็คือ น้องมองตาก็เริ่มกรอกตาตามเรา เสียงก็เริ่มเล่นตามเรา เล่นปากกลืนน้ำลายได้ แขนยกมือขยับ มีตะเเคงได้ ตั้งแต่เดือนตุลาคมก็ตะเเคงได้เอง 2 รอบ มีร้องไห้เสียงยาว 2 รอบ "

Q: แสดงว่า ณ ช่วงเวลา 2 เดือนที่คุณแม่หันมาทำวอยต้าจริงจังวันละ 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของวอยต้าชัดขึ้นใช่ไหม

" ใช่ค่ะ "

Q: คุณแม่อยากบอกอะไรกับคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นที่กำลังเริ่มทำวอยต้า หรือกำลังทำวอยต้าวันละ 3-4 ครั้งแล้วท้อบ้างไหม

" สำหรับความรู้สึกของแม่ แม่ทำน้องก็ดีขึ้น ดีสำหรับแม่คือแขนน้องดีขึ้น  แต่ก่อนน้องคือไม่รู้เรื่องอะไรเลย  ก็อยากฝากบอกให้คุณพ่อคุณแม่ ไม่ว่าลูกเราจะเป็นหนักหรือว่าไม่หนักก็อยากให้สละเวลามาทำให้ลูกเราวันละ 3-4 ครั้ง ดีจริง ๆ ค่ะ "

Q: คุณแม่คิดว่าจะใช้วอยต้าต่อไปไหม

" เรามั่นใจในศาสตร์นี้ อยากให้เสียสละเวลามาทำให้ลูกดีกว่าไม่ทำ เราจะอยู่กับลูกเราเลี้ยงเอง เวลาที่อยู่กับลูกเราก็กดให้ลูก มีเวลาว่างเราก็มาหาครูจดจำที่ครูสอน แล้วทำไปกดให้ลูกที่บ้าน "

---------------------------------------------------------------------------  

น้องไม้ อายุ 2 ขวบ 6 เดือน (สัมภาษณ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2560)

น้องไม้มีภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด ได้มาทำวอยต้า เมื่อตั้งแต่อายุ 1 ขวบ 7 เดือน ตอนนี้ 2 ขวบ 6 ประมาณ 11 เดือน 

Q: ก่อนทำวอยต้าพัฒนาการน้องเป็นอย่างไรบ้าง 

" คอตก ไม่ขยับ แขนขาไม่ยืด ไม่ขยับ "

Q: พอเริ่มทำวอยต้าน้องเป็นอย่างไรบ้าง 

" ดีขึ้น ชันคอได้ ตะเเคงได้ คว่ำหงายได้ "

Q: ทำมานานแค่ไหนจึงห็นน้องคว่ำหงายได้

" ประมาณ 5- 6 เดือน "

Q: คุณแม่ทำวอยต้าถี่ขนาดไหน

" 3-4 ครั้งต่อวัน มาหานักกายภาพอาทิตย์ละ 2 วัน เวลาที่เหลือก็ทำอยู่ที่บ้าน "

Q: วอยต้าช่วยน้องได้ขนาดไหน

" ช่วยได้จริง มีความมั่นใจกับศาสตร์วอยต้า ฝึกไปเรื่อย "

Q: คุณแม่อยากบอกอะไรกับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังเริ่มทำวอยต้า หรือกำลังทำวอยต้าวันละ 3-4 ครั้งแล้วท้อบ้างไหมคะ

" วอยต้าได้ผลจริง ๆ จากน้องไม้ที่ไม่ขยับอะไรเลย ตอนแรกแม่ก็ท้อ แล้วอยู่ที่สุรินทร์ จากที่คอไม่ชัน ไม่ขยับ ตอนนี้ได้ผลมากค่ะ "

---------------------------------------------------------------------------  

VOJTA THERAPY

In Thailand and South-east Asia

By Zy Movement Foundation

 

INTRODUCTION

วอยตาเป็นเทคนิคการนวดกดจุดจากประเทศเยอรมนีที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1950 เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ และแก้ไขความผิดปกติของการควบคุม การทรงตัว และการเคลื่อนไหวร่างกาย และใช้เพื่อคัดกรองเด็กทารกที่มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถคัดกรองได้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งมีความซับซ้อนและมักใช้เวลาในการรักษายาวนานกว่าจะได้ผล โดยเฉพาะในเมื่อความผิดปกตินั้นเกี่ยวเนื่องกับความบกพร่องของสมอง การบำบัดรักษาจะต้องเริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงจะประสบผลสำเร็จที่ดี การรักษาความผิดปกติในด้านการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายของทารกตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นนั้นสามารถสำเร็จได้ หากใช้เทคนิคการบำบัดแบบวอยตา

ช่วง ค.ศ. 1950-1970 ศาสตราจารย์นายแพทย์วาคลาฟ วอยตา อายุรแพทย์และกุมารแพทย์ระบบประสาท ได้พัฒนาหลักการบำบัดแบบวอยตา ซึ่งปัจจุบันนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ ระบบประสาท และผู้ป่วยเด็ก

WHY VOJTA 

การตรวจวินิจฉัยด้วยเทคนิควอยตา
การตรวจ Postural reaction แบบวอยตา เป็นเทคนิคการตรวจคัดกรองความผิดปกติในตัวเด็กได้ตั้งแต่แรกเกิด หากผู้ตรวจมีทักษะดี จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ในการตรวจ อีกทั้งยังไม่ต้องอาศัยความร่วมมือของเด็ก ซึ่งนับว่าเป็นการประหยัดเวลา และมีความแน่นอนในการตรวจสูงกว่า การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวโดยอิสระของเด็ก (analysis of spontaneous movement) 

ท่าตรวจ postural reaction ทั้งเจ็ดท่า ได้แก่ 

1. Traction reaction
2. Landau reaction
3. Axillary hanging reaction
4. Vojta side tipping reaction
5. Collis horizontal reaction
6. Peiper Isbert vertical reaction
7. Collis vertical reaction 

การตรวจ postural reaction ทั้งเจ็ดท่า จะสามารถใช้เป็นเครื่องคัดกรองความผิดปกติของระบบ motor control ได้ตั้งแต่เด็กยังมีอายุน้อย การตรวจนี้ หากพบความผิดปกติมากกว่า 6 ท่า จะเรียกว่ามี moderate to severe central coordination disturbance และควรต้องส่งรักษา ด้วย วอยตาเทอราปี เพราะว่า มีโอกาส ที่จะพัฒนาไปเป็นภาวะสมองพิการประมาณ ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ หากไม่ได้รับการรักษา และหากรักษาแล้ว จะมีโอกาสเป็นภาวะสมองพิการเพียง สามถึงสี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

เด็กที่ตรวจแล้วมีการตอบสนองตามแบบในอุดมคติทุกท่า เรียกว่าผลตรวจปกติ การศึกษาที่ผ่านมา พบว่า เด็กกลุ่มนี้ทุกรายมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกายปกติ ส่วนเด็กที่มีความผิดปรกติ หนึ่ง ถึงห้าท่า มีโอกาสที่จะมีพัฒนาการผิดปรกติ ประมาณ ห้าถึงยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์ หากไม่ได้รับการบำบัดรักษาแต่เนิ่นๆ

ดังนั้นเด็กที่มีความผิดปกติ ระดับ น้อย และ น้อยมาก นั้นไม่ต้องส่งรักษา ในทันที แต่ต้องนัดติดตามอาการ ในสองถึงสามเดือน หากมีอาการดีขึ้นสามารถจบกระบวนการติดตามอาการได้ และหากไม่ดีขึ้นจึงส่งรักษาด้วยการบำบัดด้วยการกดจุดแบบวอยตากับนักกายภาพบำบัดต่อไป

การตรวจแบบวอยต้า สามารถ ยืนยันความผิดปกติในเด็กที่มีอาการน่าสงสัยได้ดี มากกว่าการตรวจร่างกายทางระบบประสาทตามแบบมาตรฐาน

เคยมีการศึกษาในประเทศกรีก ในปี 2001 พบว่า การตรวจเด็กทารก ด้วยวิธี postural reaction test มีคงามไวและความแม่นยำในการตรวจหา ภาวะสมองพิการได้ตั้งแต่อายุ สามเดือน ถึง 90 และ 70 เปอรเซนต์ ตามลำดับ

โดยสรุปแล้ว postural reaction จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการคัดกรองความผิดปรกติด้านพัฒนาการการเคลื่อนไหว แต่เนิ่นๆ ที่แพทย์ จะได้ให้ความสนใจนำมาใช้ให้มากต่อไป 

การบำบัดรักษาด้วยศาสตร์วอยตา (Vojta Therapy) คือกระบวนการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการกระตุ้นระบบประสาทสั่งการด้านการเคลื่อนไหว(นวดกดจุด) มีทั้งการให้แรงกดและการยืดไปตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้เกิดการตอบสนองและการเคลื่อนไหวที่ประสานสัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่จะมีผลต่อการทรงตัวของร่างกาย และการเคลื่อนไหวของแขนขาเพื่อให้สมองเรียนรู้รูปแบบวิธีการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับผู้ป่วยหลายกลุ่มตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท เช่น เด็กสมองพิการ ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่างอัมพาตทั้งตัว และผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของระบบประสาทส่วนปลาย กลุ่มผู้ป่วยที่เกี่ยวกับระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยแขนขาขาดและเด็กพิการแขนขาขาดหายตั้งแต่กำเนิด ตลอดจนผู้ที่มีปัญหาการหายใจ การเคี้ยว การกลืน เป็นต้น ซึ่งกระบวนการบำบัดรักษาด้วยเทคนิคดังกล่าวมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ 13 ของโลกที่ใช้เทคนิคนี้

VOJTA IN THAILAND 

ปัจจุบันมีทีมผู้สอนประกอบด้วยนักกายภาพบำบัดและแพทย์ โดยบางท่านได้รับการสอนจาก นายแพทย์วอยตาโดยตรง มีองค์การวอยตาสากล (International VOJTA Gesellshafte.V.-IVG) เป็นตัวแทน IVG ได้ผลิตนักกายภาพบำบัดทางวอยตาและแพทย์ทางวอยตาไปทั่วโลกมามากกว่า 35 ปี ทั้งนี้การบำบัดด้วยเทคนิค
วอยตาประสบผลสำเร็จในการรักษาเด็กและผู้ใหญ่ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวและพัฒนาการหลายหมื่นคน 

มูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์ เป็นผู้ผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการนำเข้าศาสตร์วอยตาเข้ามาที่ประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน มาตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบันมีสถานพยาบาลทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ให้บริการการรักษาบำบัดด้วยศาสตร์วอยต้ากว่า 30 สถาบัน (คลิกเพื่อดูรายชื่อสถานพยาบาล 

การจัดอบรม Vojta Therapy สำหรับบำบัดผู้ป่วยเด็ก แบ่งการเรียนการสอนเป็น 4 courses คือ 

Course A - ช่วงเวลาการฝึกอบรม เดือน สิงหาคม ในปีที่รับเข้าอบรมของรุ่นนั้น
Course B - ช่วงเวลาการฝึกอบรม เดือน กุมภาพันธ์ ปีต่อจากปีที่รับเข้าอบรมของรุ่นนั้น
Course C - ช่วงเวลาการฝึกอบรม เดือน สิงหาคมปีเดียวกับ Course C
Course D - ช่วงเวลาการฝึกอบรม เดือน  กุมภาพันธ์ สองปีต่อจากปีที่รับเข้าอบรมของรุ่นนั้น 

การจัดอบรม Vojta Therapy สำหรับบำบัดผู้ป่วยผู้ใหญ่ แบ่งการเรียนการสอนเป็น 3 courses คือ course A-C ช่วงเวลาเดียวกับ Course สำหรับบำบัดเด็ก แต่จะเป็นผู้ฝึกสอนคนละชุด โดยใช้ภาษาเยอรมันในการสอนและต้องใช้ล่ามแปลภาษาให้ตลอดการอบรม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแม่นยำเกี่ยวกับเทคนิควอยตา 

VOJTA Milestones in Thailand

หลักสูตรนักกายภาพบำบัดวอยตาเพื่อรักษาผู้ป่วยเด็ก
รุ่น 1 เริ่มอบรม สิงหาคม 2554 - จบ กุมภาพันธ์ 2556
รุ่น 2 เริ่มอบรม สิงหาคม 2556 - จบ กุมภาพันธ์ 2558
รุ่น 3 เริ่มอบรม สิงหาคม 2558 - จบ กุมภาพันธ์ 2560
รุ่น 4 เริ่มอบรม กรกฎาคม 2560 - จบ กุมภาพันธ์ 2562
รุ่น 5 เริ่มอบรม 19 สิงหาคม 2562 - จบ สิงหาคม 2566 

หลักสูตรนักกายภาพบำบัดวอยต้าเพื่อรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่
Adult รุ่น 1 เริ่มอบรม สิงหาคม 2558 - รุ่น 3 จบ กุมภาพันธ์ 2560
Adult รุ่น 2 เริ่มอบรม กรกฎาคม 2560 - จบ กรกฎาคม 2561 

หลักสูตรทบทวนความรู้และทักษะด้าน Vojta therapy หลักสูตร 1 สัปดาห์
สำหรับผู้ผ่านการอบรมทุกรุ่น (Vojta Refresher Course)

หลักสูตรทบทวนความรู้และทักษะด้าน Vojta therapy หลักสูตร 1 วัน ระหว่าง A,B,C,D course


VOJTA STATISTIC IN THAILAND 

ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว กว่า 100,000 คน
โดยเฉลี่ย นักกายภาพบำบัดวอยตา 1 คน สามารถทำการบำบัดด้วยศาสตร์วอยต้าให้เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวได้ 40 คน ต่อปี

*ผู้บำบัด1 คน หากมีเคสให้ทำสม่ำเสมอ สามารถบำบัดเด็กด้วยวอยตาเฉลี่ย 4 คน/วัน จากจำนวนผู้ป่วยเด็กทั้งหมดเฉลี่ย 5 คน/วัน (ประมาณ 700 คน ต่อปี) แต่เนื่องจากมีผู้บำบัดที่มีเคสทำสม่ำเสมอไม่ถึง 50% ของจำนวนผู้บำบัดวอยตาทั้งหมด และหลายเคสเป็นการมาพบเพื่อติดตามผล (visit) 

ค่าเฉลี่ยจึงเป็น 1/40/ปี (ผู้บำบัด/เด็กพิการ/ปี)

**ผู้บำบัด(กลุ่มตัวอย่าง) ร้อยละ 100 เห็นว่า Vojta Therapy เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสภาพเด็กที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว

 



สถานพยาบาลที่มีการรักษาแบบวอยต้า 

จังหวัด

สถานพยาบาลที่มีการให้บริการ Vojta 

เบอร์ติดต่อ

กรุงเทพ

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

02-218 3766

กรุงเทพ

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี

0-2200-3000 ต่อ 61058

กรุงเทพ

โรงพยาบาลจุฬา สภากาชาดไทย

02-256 4943

กรุงเทพ

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

02-667 1300

กรุงเทพ

โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์

02-022 2222

กรุงเทพ

สถาบันราชานุกูล  กรมสุขภาพจิต

0-2248-8900 

กรุงเทพ

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

1415 ต่อ 3203

ขอนแก่น

คณะเทคนิคการแพทย์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

043-320 2399

เชียงราย

โรงพยาบาลชียงรายประชานุเคราะห์ จ.เชียงราย

053-910 600

เชียงใหม่

ภาควิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

053-949 239

เชียงใหม่

สถาบันพัฒนาการเด็กราชนคริทร์ เชียงใหม่

053-908 300 ต่อ 73340 หรือ 73332

นครนายก

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 

(องครักษ์)

02-649 5450

นครปฐม

ศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

02-441 5450 ต่อ 12

นครปฐม

ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล

02-849 6600 ต่อ 1049

นครสวรรค์

โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์

056-219 888

นนทบุรี

มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์

02-583 9596-7

นนทบุรี

ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ

02-591 4242 ต่อ 6750

นราธิวาส

โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

073-510 649

ปทุมธานี

ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

02-986 9213 ต่อ 7228 หรือ 7208

ประจวบคีรีขันธ์

โรงพยาบาลหัวหิน

032-523 000 ต่อ 2721

พิษณุโลก

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

055-270 300 ต่อ 20106

เลย

โรงพยาบาลเลย

042-862 123

สงขลา

คลินิกกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

สงขลา

โรงพยาบาลหาดใหญ่

074-273 100

สมุทรปราการ

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย

02-389 0854

สมุทรปราการ

โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์

02-361 1111 

ต่อ 2447 หรือ 2446

สุราษฎร์ธานี

โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

077-284 700

ตรัง

โรงพยาบาลตรัง คลินิควอยต้าบำบัด 
งานกายภาพบำบัด

075-201-500 

 

คลินิกกายภาพบำบัดวอยต้า นอกเวลาราชการ

สถานที่

วัน/เวลา

เบอร์ติดต่อ

โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ จ.สมุทรปราการ

จ-ศ 8.00-19.00 น.

ส 8.00-17.00 น.

02-361-1111
ต่อแผนกกายภาพบำบัด

มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ จ.นนทบุรี

จ-ศ
15.30-19.30 น.

02-583-9596 ต่อ 155 แผนกกายภาพบำบัด

ศูนย์กายภาพบำบัด ม.มหิดล (ปิ่นเกล้า) กรุงเทพฯ

ส-อา
8.00-17.00 น.

โทรนัดล่วงหน้า
02-433-7098 ต่อ 0

กันยาคลินิกกายภาพบำบัด กรุงเทพฯ

อา 9.00-16.00 น.

โทรนัดล่วงหน้า 083-076-4320

ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ม.มหิดล จ.นครปฐม 

[งดให้บริการวอยต้า : ข้อมูลวันที่ 17 กันยายน 2562]

จ-ศ
16.30-20.00 น.

โทรนัดล่วงหน้า 02-849-6600 ต่อ 3172

งานฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก สถาบันสิรินธรฯ จ.นนทบุรี

ศ 16.00-18.00 น.

ส 8.30-12.00 น.

02-591-5455 ต่อ 6791

รพ.วิชัยยุทธ คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ ชั้น 12 กรุงเทพฯ

อา 8.00-17.00 น. 

โทร นัดคิวคุณวันทนีล่วงหน้า 02-265-7777
ต่อ 51280

089-825-0354 (วันทนี)

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรุงเทพฯ

จ-ศ
15.00-20.00 น.

ส 8.00-12.00 น.

สอบถามล่วงหน้า
โทร 1415 ต่อ 3203

รุ่งทิพย์คลินิกกายภาพบำบัด จ.นครสวรรค์

ส-อา
9.00-17.00 น.

โทรนัดล่วงหน้า
081-328-8566

 

สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่

จ-พฤ
16.30-19.30 น.

ส-อา
8.30-16.30 น.

โทรนัดล่วงหน้า
053-908300 ต่อ 73333 

081-530-9964

คลินิก ครูแนน&ครูอ่าง ประชาชื่น กรุงเทพ

ส-อา
9.00 - 17.00 น.

ครูแนน 086-754-6090

ครูอ่าง 081-560-6140

คลินิกกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ ม.ขอนแก่น จ.ขอนแก่น

พ 16.30 - 18.30 น.

ส 9.00 - 12.00 น.

043-202080 (อ.พิศมัย)

043-202085

คลินิกกายภาพบำบัด มหิดล ศาลายา จ.นครปฐม

จ-ศ
16.00 - 19.00 น.

02-441-5450 ต่อ 12

คลินิกกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

อ.
16:00 - 19:00 น.

พฤ.
16:00 - 19:00 น.

โทร. นัดล่วงหน้า
02-312-6300
ต่อ 1247, 1248

098-312-0977

รพ.สมิติเวชศรีนครินทร์

ส-อา.
9:00 - 18:00 น.

โทร 02-378-9305,
02-378-9304
(กายภาพบำบัดเด็ก)

 

หลังจากกรอกแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้ว กรุณาติดต่อเข้ามาที่ มูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์

โทร. 088 008 1329 จันทร์-ศุกร์ 9:00 น. - 16:00 น.

ZY MOVEMENT FOUNDATION and  VOJTA THERAPY TRAINING

1. ความสัมพันธ์ของมูลนิธิฯ กับ องค์การวอยตา (Internationale Vojta Gesellschaft e.V)

มูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์ เป็นภาคีหลักขององค์การวอยตาสากลในส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบการวินิจฉัยและบำบัดด้วยเทคนิควอยตา ตั้งแต่ปี 2554

2. ความสัมพันธ์มูลนิธิกับผู้ให้บริการวอยต้าในประเทศไทย

มูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์ ร่วมมือกับสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ จัดการอบรมและบำบัดด้วยเทคนิควอยตา รวมถึงวางแผนการบริหารการบริการวอยตาในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การวอยตาสากล

3. การสนับสนุน ช่วยเหลือกันระหว่างมูลนิธิและภาคีเกี่ยวกับวอยต้า

มูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์ สนับสนุนงบดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการวินิจฉัย และบำบัดด้วยเทคนิควอยตาในส่วนที่ไม่สามารถเบิกตามระเบียบของราชการได้ แต่เป็นส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจหลักสูตรของนักกายภาพบำบัดผู้เข้าฝึกอบรมดังเช่น ส่วนของล่ามแปลภาษาเยอรมัน-ไทย และส่วนค่าพาหนะเดินทางของผู้ป่วยเพื่อมาเป็นแบบฝึก เพื่อความต่อเนื่องและรักษามาตรฐานของการบำบัดด้วยเทคนิควอยตาในประเทศไทย โดยงบที่ใช้สนับสนุนมาจากการระดมทุนผ่านภาคธุรกิจ และสังคมที่ตระหนักถึงความสำคัญในการการแก้ไขปัญหาการพึ่งพิงของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวอย่างจริงจัง

VOJTA จากมุมของแพทย์ ผู้ปกครอง และนักกายภาพบำบัด CLICK https://youtu.be/2TeCp7gNOzQ

Visitors: 79,129